เมนู

ก็เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวก
ข้าพเจ้า จงรับภิกษาของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่
ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ส่วนกุฏิภัตใด อันทายกเลื่อมใสในบุคคล
แล้วสร้างที่อยู่เพื่อบุคคลนั้น ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ดังนี้ กุฏิภัตนั้น
ย่อมเป็นของบุคคลนั้นเท่านั้น ครั้นเมื่อบุคคลนั้น ไปในที่ไหน ๆ เสีย พวก
นิสิตพึงฉันแทน.
ที่ชื่อวารกภัต คือภัตที่ทายกถวายจำเดิมแค่เรือนใกล้ไปว่า พวก
ข้าพเจ้าจักเปลี่ยนวาระกันบำรุงภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ภิกษาหายาก, แม้วารก
ภัตนั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ถวายวารกภัต ดังนี้ วารกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัต .
ก็ถ้าว่า พวกทายกส่งข้าวสารเป็นต้น ไปให้ว่า สามเณรทั้งหลายจง
หุงต้มถวาย ดังนี้, ภัตนั้น ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
ภัตเหล่านี้ 3 กับภัตอีก 4 มีอาคันตุกภัตเป็นต้น รวมเป็น 7 ภัต
7 นั้น รวมกับภัตอีก 7 มีสังฆภัตเป็นต้น จึงเป็นภัต 14 อย่าง ด้วยประการ
ฉะนี้.

[ภัตอื่น 4 อย่างในอรรถกถา]


อนึ่ง ในอรรถกถากล่าวภัต 4 อย่างแม้อื่น คือ วิหารภัต อฏัฐภัต
จตุกภัต คุฬกภัต. ใน 4 อย่างนั้น ที่ชื่อวิหารภัต ได้แก่ภัตที่เกิดแต่กัลปนา
สงฆ์ในสำนักนั้น. สำนักภัตนั้น สงเคราะห์ด้วยสังฆภัต.
อนึ่ง วิหารภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
ในฐานะทั้งหลายเช่นนั้น เพราะเป็นภัตที่พระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ใน
ติสสมหาวิหารและจิตตลบรรพตเป็นต้น (เคย) รับ แล้ว อย่างที่เป็นภัตอันภิกษุ

แม้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ก็สามารถฉันได้. ส่วนภัตที่ทายกถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ถวายแก่ภิกษุ 8 รูป, ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุ 4 รูป ดังนี้ ชื่ออัฎฐกภัต และ
ชื่อจตุกภัต.
อัฏฐกภัตและจตุกภัตแม้นั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ควรแก่ภิกษุ
ผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
ภัตที่ทายกหมายบาตรไว้ ด้วยขนมมีรสอร่อยยิ่ง มีเครื่องปรุงมาก
แล้วถวาย ชื่อคุฬกภัต. ภัต 3 อย่างนี้ มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.
แม้ภัตอื่นอีกที่ชื่อ คุฬกภัต ก็ยังมี (คือ) คนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้
ให้ทำการฟังธรรมเป็นการใหญ่ และการบูชาในสำนักแล้วกล่าวว่า พวกข้าพเจ้า
ไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งสิ้นได้, ภิกษุ 2 - 3 ร้อย จงรับภิกษาของพวก
ข้าพเจ้า ดังนี้, แล้วถวายน้ำอ้อยงบ เพื่อทราบจำนวนภิกษุ. คุฬกภัตนี้
ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
จีวรที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในจีวรขันธกะ ส่วนเสนาสนะที่
ควรแจก และบิณฑบาตที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวในเสนาสนักขันธกะนี้
ด้วยประการฉะนี้.

[คิลานปัจจัยที่ควรแจก]


ส่วนคิลานปัจจัยที่ควรแจก พึงทราบอย่างนี้ :-
บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น พระราชาหรือราชมหาอมาตย์ ส่งเนยใส
ร้อยหม้อก็ดี พันหม้อก็ดี ไปสู่สำนักก่อน. พระภัตตุทเทสก์พึงตีระฆัง ให้ๆ
เต็มภาชนะที่ถือมา จำเดิมแต่เถรอาสน์ลงมา. เนยใสนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.